SET ขึ้นมาเท่านี้ กองทุนขึ้นมาเท่าไหร (17 ตุลาคม 2560)
ขณะที่ SET ขึ้นเอาๆ เรามามองดูกองทุนว่าเป็นยังไงกันบ้าง
October 17, 2017, พิมพ์ฝัน เจียรพิพัฒนกุล
ปัจจุบัน ในประเทศไทยมีบริษัทที่ได้รับใบอนุญาต ประกอบธุรกิจ “การจัดการกองทุนรวม” ทั้งหมด 25 บริษัท หรือ 25 บลจ. (เข้าไปดูรายชื่อ บลจ. ทั้งหมดได้ที่ http://bit.ly/2gehaII)
นักลงทุนปรับตัวจากการซื้อหุ้น Mid-small cap ไปเป็น BIG Cap ทันหรือไม่
ปีนี้เป็นปีของหุ้น BIG CAP หรือ SET50/SET100 ไม่เหมือนปีที่ 2015-2016 ที่หุ้น Mid-Small cap Outperformed มากกว่า หากนักลงทุนทั่วไปไม่ได้ปรับตัวตาม Flow ที่ไหลเข้าหุ้นใหญ่ตั้งแต่ต้นปี Performance ของนักลงทุนทั่วไปในปีนี้ส่วนใหญ่น่าจะแพ้ตลาด โดย SET Index ต้นปี 2017 เริ่มต้นที่ 1563 จนมาถึงตอนนี้เดือนตุลาคม SET Index ขึ้นมาอยู่เหนือ 1700 ตลาดหุ้นไทยขึ้นมา 137 จุด หรือขึ้นมา 8.8% โดยประมาณ ซึ่งตอนแรกตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ปีนี้จนถึงปลายเดือนสิงหาคม ตลาดไทยซื้อขายกันในกรอบแคบมาก สูงสุดที่ 1600 จุด ต่ำสุดที่ 1528 โดยรวมๆคือปีนี้หากนับ 1563 เป็นจุดเริ่มต้น SET index Swing ในกรอบ -2% มาจนถึง +8% เราต้องตรวจสอบพอร์ทตัวเองว่า ถึงตอนนี้แล้วเราทำได้กันกี่%
ต่อไป เรามาดูกันว่า กองทุนแต่ละกองที่เรายกตัวอย่างขึ้นมาพูดถึง จะมี performance เป็นอย่างไรกันบ้าง และกองทุนเหล่านั้นทำไมถึงมี performance ที่น่าสนใจ
หุ้นที่บลจ. กรุงศรีชอบเป็นพิเศษ
TCAP WORK RS SAWAD BEAUTY เป็นบริษัทที่มีอยู่ใน Position ของ บลจ.กรุงศรีในหลายๆกอง ไม่ว่าจะเป็น กองทุนรวมหุ้นแบบ “ทั่วไป” หรือกองทุนรวมหุ้นไทย แบบ “LTF” เราลองมาดูกราฟรายเดือนของหุ้นเหล่านี้ของปี 2017 กัน
นโยบายกอง T-Privilege ของ บลจ.ธนชาตโฟกัสเพียง 10 บริษัท
กองทุนของ Thanachart ชื่อกอง T-Privilege ลงทุนในหุ้นที่แตกต่างจากกองทุนอื่นอย่างเห็นได้ชัด คือ DTAC ANAN THAI AOT PSL แต่ Performance YTD ของกอง ที่ประมาณ 24% ถือว่าทำได้ดีทีเดียว เราก็เลยลองไปดู นโยบายของกองนี้ว่าเป็นอย่างไร นโยบายการลงทุนเขียนไว้ว่า “กองทุนจะเน้นลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มีปัจจัยพื้นฐานดี โดยผู้จัดการกองทุนจะพิจารณาลงทุนในหลักทรัพย์ไม่เกิน 10 หลักทรัพย์ที่คัดเลือกแล้ว” เราเลยมาดูต่อว่าแล้วอีก 5 ตัวกองทุนนี้ถือหุ้นอะไร MEGA EA BEC MONO ROJNA สังเกตได้ว่ากองทุนนี้เป็นกองทุนเดียวใน Top 10 Performance ของกองหุ้นไทยทั่วไปในปีนี้ที่มีนโยบายระบุว่า จะลงทุนไม่เกิน 10 หลักทรัพย์ ซึ่งการมีหุ้นเพียง 10 ตัวทำให้ความใส่ใจในหุ้นที่ตัวเองถืออาจจะมีมากกว่า
ASSET Plus กอง ASP-GLTF มองเห็นอะไรใน JMT / IHL / MTLS / IVL
นโยบายของกองนี้ระบุไว้ว่า “ลงทุนในหุ้นสามัญที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และ/หรือตลาดหลักทรัพย์ MAI โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม โดยกองทุนอาจจะลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivative) และตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (structured note)”
ในขณะที่ กอง ASP-LTF นั้นระบุไว้ว่า “ลงทุนในหุ้นสามัญที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่มีปัจจัยพื้นฐานดี โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม รวมทั้งลงทุนในตราสารแห่งหนี้ และหรือเงินฝาก ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ตลอดจนหลักทรัพย์และทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ทั้งนี้ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนด”
กองทุน M-MIDSMALL ของ MFC เลือกหุ้นแตกต่างจากเจ้าอื่น แต่ตัวแรกที่ถือเน้นปลอดภัย
นโยบายการลงทุนของ M-MIDSMALL คือ “เน้นลงทุนในตราสารแห่งทุนของบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ/หรือตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ โดยเฉลี่ยในรอบปี บัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน” และพอได้ดูเพิ่มเติมพบว่าสัดส่วน TTW ที่เป็นบริษัทขายน้ำประปา เป็นสัดส่วนถึง 10% ของกองทุนในขณะที่หุ้นตัวกลางอื่นๆ ลงในสัดส่วนที่ต่ำกว่า 4% โดย 9 ตัวถัดมาที่กองถือได้แก่ BA MACO ERW EASTW RS STEC KBANK SEAFCO BCP จะสังเกตได้ว่ามีหุ้นใหญ่อย่างเช่น KBANK และ BCP โผล่มาสองตัว ซึ่งนโยบายระยุไว้ว่าเน้นลงทุนในบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก
กองทุนของ บลจ.กรุงศรีเป็นที่นิยมของนักลงทุนทั่วไปอย่างมาก
สมมุติเราเอา ขนาดกองทุน Top 10 ของกองทุนหุ้น 3 ประเภทมารวมกัน ได้แก่ กองหุ้นทั่วไป + กอง LTF + กอง RMF จะได้ Total Fund Size = 98,000 ล้านบาทโดยประมาณ โดยในจำนวนนี้เป็นสัดส่วนของบลจ.กรุงศรีไป 69% หรือประมาณ 67,000 ล้านบาท โดยกองทุนที่ Popular ที่สุดของทั้งหมดคือ KFLTFDIV หรือ กองทุนเปิดกรุงศรีหุ้นระยะยาวปันผล ซึ่งมีขนาดของกองทุนที่ใหญ่มากที่ประมาณ 43,000 ล้านบาท นั่นเป็นตัวเลขที่นักลงทุนควรต้องให้ความสนใจมากๆ เลยทีเดียว
Note: ชื่อย่อกองทุน
KSAM – Krungsri Asset Management
THANACHART – Thanachart Fund Management
BBLAM – BBL Asset Management
MFC –MFC Asset Management
CPAM – CIMB Principal Asset Management
ASSETPLUS – Asset Plus Fund Management
UOBAMTH - UOB Asset Management
KASSET – Kasikorn Asset Management
TISCOAM – TISCO Asset Management
TMBAM - TMB Asset Management